การจัดองค์ประกอบภาพที่ดี ทำอย่างไรมาดูกัน

การถ่ายภาพยุคนี้ต้องบอกว่าเราทำได้ง่าย เข้าถึงได้มากขึ้น ต้องขอขอบพระคุณเทคโนโลยีและกล้องดิจิตอลทำให้เราทำได้ นั่นทำให้คนหันมาเล่นกล้องกันเยอะเลย แต่การเล่นกล้อง กับการถ่ายภาพเป็น ถ่ายภาพสวยมันคนละเรื่องกัน กว่าที่เราจะถ่ายภาพเป็น ถ่ายภาพสวยได้นั้น ต้องมีองค์ประกอบมากมาย ต้องผ่านการเรียนรู้ทางด้านศิลปะมาด้วยส่วนหนึ่งจะช่วยให้การถ่ายภาพทำได้ดีขึ้น หัวข้อหนึ่งที่ควรเรียนรู้ไว้ก็คือ การจัดองค์ประกอบภาพที่ดี เค้ามีเทคนิค วิธีการกันอย่างไร
การรักษาความสมดุล
สิ่งแรกที่จะทำให้ภาพออกมาน่าสนใจเป็นธรรมชาติ นั่นก็คือ การรักษาความสมดุลของภาพนั้น ไม่ว่าจะเป็นวัตถุที่เราต้องการโฟกัส กับภาพฉากหลังและองค์ประกอบอื่นไม่เด่นกว่าไปจุดโฟกัส สิ่งที่จะทำให้มันสมดุลได้ก็คือ กฎสามส่วน กฎนี้ก็คือก่อนที่เราจะกดชัตเตอร์ จะต้องวางภาพให้ทุกอย่างสมดุลกัน วิธีการก็ไม่ยากให้เราเปิดโหมดให้หน้าจอมีเส้นตัดกันจนแบ่งจอภาพออกเป็น 9 ช่องเล็ก จากนั้นก่อนจะถ่ายเราก็เอาวัตถุที่เราต้องการโฟกัส เอาไว้ตรงกลาง เท่านี้ก็ได้ความสมดุลแล้ว
เส้นนำสายตา สร้างจุดสนใจ
หากเราไม่มีวัตถุโฟกัสในภาพ อีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้การจัดองค์ประกอบภาพของเราน่าสนใจและเป็นภาพที่ดี ก็คือ การหาเส้นนำสายตาของภาพนั้นขึ้นมา คำว่าเส้นนำสายตา หมายถึง การมองหาเส้น หรือ อะไรก็ตามที่มาเรียงตัวกัน จนทำให้คนที่มองภาพนั้นจะไล่ระดับสายตาตามเส้นนั้นไปเพื่อมองภาพนั้นทั้งหมด อาจจะเป็นเส้นขอบถนน, รั้ว , แนวต้นไม้ ฯลฯ อีกอย่างเส้นนำสายตามีผลทำให้ภาพดูลึกและมีมิติมากขึ้นด้วย
กรอบภาพตามธรรมชาติ
การถ่ายภาพบางทีเราอาจจะอยกาออกนอกกรอบ แต่ให้เป็นธรรมชาติ ฟังแล้วอาจจะดูงง แต่เรากำลังหมายถึงในเฟรมภาพของเราอาจจะใช้กรอบธรรมชาติมาเป็นพื้นหลังของภาพ เพื่อให้ซ้อนจนทำให้สิ่งที่เราต้องการจะสื่อเด่นขึ้นไปอีก ยกตัวอย่างเล่น เราอาจจะต้องการถ่ายภาพวิวจากห้องพัก ถ้าถ่ายวิวทิวทัศน์นั้นไปเลยก็จะให้อีกอารมณ์หนึ่ง แต่หากเราถอยออกมาหน่อย แล้วถ่ายภาพวิวเหมือนเดิม แต่ถ่ายจากหน้าต่าง ให้หน้าต่างเป็นกรอบ ภาพแบบนี้ก็จะให้อารมณ์อีกรูปแบบหนึ่งแตกต่างไป
ถ่ายแบบเต็มเฟรม
ลูกเล่นนี้ ต้องบอกว่าเหมือนจะง่ายแต่เอาเข้าจริงไม่ง่ายนะ นั่นก็คือ การถ่ายภาพแบบเต็มเฟรม ความหมายก็คือ การถ่ายภาพคน สิ่งของ วัตถุ หรือ วิวทิวทัศน์แบบเต็มเฟรม ถ้าเป็นคนก็จะเป็นการถ่ายแบบโคลสอัพ เข้าไปใกล้เลย ถ่ายแบบเห็นแต่คนไม่เห็นภาพพื้นหลังอะไร อาจจะถ่ายช่วงใบหน้าจนถึงคอเท่านั้น ซึ่งการถ่ายแบบนี้ความยากมันอยู่ตรงที่เราจะต้องจัดองค์ประกอบของภาพเป็นอวัยวะบนใบหน้าที่เราไม่สามารถขยับได้(มันต้องขยับทั้งหน้า) รวมถึงคนที่จะมาเป็นแบบต้องมืออาชีพหน่อยกล้องมาโคลสอัพใกล้แบบนี้เขินแย่เลย
สีจะต้องตัดกัน
การจัดองค์ประกอบภาพไม่ได้มีแต่เรื่องของวัตถุเท่านั้น เรื่องของสี ก็จำเป็นด้วย หากเราเลือกใช้สีไม่ดี แม้ว่าเราจะวางองค์ประกอบดีแค่ไหน แต่ทุกอย่างก็จะกลืนกันไปหมด จนดูไม่ออกว่าจะโฟกัสที่อะไรเป็นหลัก คำแนะนำก็คือ หากเราต้องการถ่ายวัตถุใดให้เด่น สีของวัตถุนั้นจะต้องโดดจากพื้นหลังแบบกระโดดออกมาเลยเพื่อให้เรานำเสนอวัตถุโฟกัสนั้นได้ตามต้องการ ยกตัวอย่างเช่น หากเราต้องการถ่ายโมเดลไอรอนแมนที่มีสีแดงเป็นสีหลัก ก็ควรจะหาพื้นหลังที่เป็นสีอ่อน อย่างสีขาว ก็จะทำให้สีของชุดไอรอนแมนเด่นขึ้นด้วย เทคนิคเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการถ่ายภาพเท่านั้นเองต้องลองฝึกฝนบ่อยจะเห็นภาพและทำเองไปตามสัญชาตญาณ