ประวัติและความเป็นมาของ ‘ศิลปะสัจนิยม’ ศอลปะอีกแขนงที่น่าสนใจ

ศิลปะสัจนิยม หรือ Realism จัดเป็นทั้งงานทัศนศิลป์ , วรรณกรรม , ละคร , นาฎกรรม ซึ่งการนำเสนอเหตุการณ์จริงตามที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวัน อันปราศจากการตีความหมายใดๆทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังหมายถึงงานศิลปะประเภทหนึ่ง ซึ่งมีเอกลักษณ์ เผยให้เห็นถึงความเป็นจริงของธรรมชาติต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจเน้นการนำเสนอความอัปลักษณ์ด้วย เพราะก็จัดว่าเป็นความจริงอย่างหนึ่ง
‘สัจนิยม’ แนวทางของศิลปะที่ต้องการสื่อถึงความเป็นจริงของธรรมชาติ

ศิลปะสัจนิยม
‘สัจนิยม’ หมายถึง ขบวนการศิลปะประเภทหนึ่ง ซึ่งมีจุดกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส ค.ศ.1850 โดยความสนใจในสัจนิยม เพิ่มมากขึ้นเมื่อศิลปะการถ่ายภาพถือกำเนิดขึ้นมา จึงส่งผลให้ศิลปินจำนวนมาก มีความต้องการสร้างงานศิลป์ที่มีความ ‘แท้จริง’ ขึ้นมาโดยศิลปินสัจนิยม มีแนวทางตรงกันข้ามกับลัทธิจินตนิยม การไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปใช้ในการบิดเบือน จะทำให้ศิลปินสัจนิยมยึดถือในปรัชญาแห่งความเป็นจริง รวมทั้งไม่ยอมรับการแสดงออกอย่างโจ่งแจ้ง
ศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบสัจนิยม
ศิลปะแบบสัจนิยม ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Realism จัดเป็นศิลปะอันสะท้อนให้เห็นความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างตรงไปตรงมา มุ่งเสนอความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ , ความจริงของโลก และความจริงของธรรมชาติ เช่น ภาพความเป็นอยู่อันแร้นแค้นของชนชั้นกรรมกร เป็นต้น
แนวทางหลักอีกรูปแบบหนึ่ง ของศิลปะสัจนิยม มุ่งเน้นการต่อต้านศิลปะแบบ Romantic ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญ แก่สภาพอันเป็นจริงของสังคม ส่งผลทำให้งานศิลปะเกิดประโยชน์ จนกระทั่งสามารถรับใช้มนุษย์ได้โดยตรงมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
งานวรรณกรรมประเภทสัจนิยม
ผลงานของ Charles Dickens ในเรื่อง Oliver Twist ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของเยาวชน ในสังคมอุตสาหกรรม และงานวิพากษ์วิจารณ์ความเลวร้ายของนายทุน เป็นต้น
งานเขียนประเภทสัจสังคม
จัดเป็นงานวรรณกรรมประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก Karl Marx ที่มุ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสังคม การต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างนายทุนกับกรรมกร สำหรับนวนิยายที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ ‘Mother’ ผลงานของ Maxim Gorky นักเขียนชาวรัสเซีย
ศิลปะนาฎกรรม , ละครประเภทสัจนิยม
มุ่งเน้นแสดงให้เห็นถึงสภาพสังคมตามความเป็นจริง ออกแบบท่าทางให้ผู้แสดงเล่นอย่างสมจริงตามธรรมชาติ ไม่ค่อยแสดงอารมณ์มากเท่าไหร่นัก หากแต่จะมีความเศร้าโศกอย่างรุนแรงอย่างละคร Romantic เป็นละครประเภทร้อยแก้ว ตัวละครใช้บทเจรจาด้วยภาษาที่สมจริง
งานด้านจิตรกรรมประเภทสัจนิยม
อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นแล้วว่า จิตกรแนวสัจไม่เขียนภาพด้วยจินตนาการซึ่งมีความโลดเล่น ดังเช่นงานจิตรกรรมประเภทRomantic หากแต่จะเขียนภาพจากสิ่งที่พวกเขาพบเห็นและสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของสังคม เช่น ภาพชีวิตของคนยากจนในเมืองใหญ่ , การใช้ชีวิตเดินตัวของชนชาติกลาง เป็นต้น