เรียนรู้การแบ่ง ประเภทของศิลปะ กันเถอาะ

ศิลปะเป็นศาสตร์การเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่ต้องใช้คำว่า เรียนกันไม่มีวันหมดสิ้นเลยทีเดียว นอกจากนั้นศิลปะยังมีการแตกแขนงออกไปอีกมากมายเป็นศาสตร์ใหม่ ศาสตร์ผสมผสานกันระหว่างใหม่เก่า จนทำให้ต้องมีการจัดหมวดหมู่แบ่งประเภทของศิลปะเอาไว้ เพื่อให้การศึกษาง่ายขึ้น เรามาเรียนรู้การแบ่งประเภทของศิลปะกัน
การแบ่งประเภทของศิลปะ
เราต้องบอกก่อนว่า งานศิลปะนั้นไม่ได้มีผิดถูก ทุกอย่างขึ้นอยู่กับแนวคิดที่สั่งสมมาของอาจารย์ หรือ จิตรกรท่านนั้นในการออกแบบ การแบ่งประเภทของศิลปะเองก็เช่นกัน หากเปิดตำราดูจะเห็นว่ามีการแบ่งประเภทของศิลปะไว้แตกต่างกัน บางตำราก็แบ่งตามพื้นที่ศิลปะตะวันตก ศิลปะตะวันออก บางคนแบ่งตามการรับรู้ (การมองเห็น, การได้ยินได้ฟัง, การดู) บางคนแบ่งตามหมวดหมู่ (ทัศนศิลป์, วิจิตรศิลป์, นาฏศิลป์) เป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้นในแต่ละประเภทก็จมีการแบ่งหมวดหมู่ย่อยลงไปอีกตามนิยาม ทีนี้เราขอเลือกวิธีการแบ่งประเภทของศิลปะ ดังนี้
วิจิตรศิลป์
ศิลปะประเภทนี้ คำนิยามก็คือ การแสดงออกทางอารมณ์ของตัวเอง เพื่อให้ผู้ที่ได้รับชมผลงานของเค้ารู้สึกได้ถึงความสุนทรียภาพของการได้เสพงานศิลป์ของพวกเค้า เรียกว่าเป็นกลุ่มที่ทำผลงานศิลปะเพื่อจรรโลงจิตใจมนุษย์ด้วยกันเอง แยกย่อยออกได้ดังนี้
หนึ่ง จิตรกรรม กลุ่มงานศิลปะที่เราขอนิยามง่ายๆว่า เป็นงานศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการขีดเขียน วาดภาพ ระบายสีไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการสร้างภาพแบบไหนก็ตามที หากเป็นภาพแบบสองมิติ เราจะขอรวบเอาไว้ในกลุ่มนี้ทั้งหมด
สอง ปะติมากรรม กลุ่มงานศิลปะตรงนี้พูดง่ายๆว่า เป็นงานศิลปะแบบสามมิติ เป็นการสร้างผลงานที่จับต้องได้ โดยการสร้างสรรค์ผลงานอาจจะมาจากการใช้วัสดุที่แตกต่างกันออกไป บวกกับเทคนิคการสร้างสรรค์งานที่คิดค้นกันได้เรื่อย ปัจจุบันการสร้างงานปะติมากรรม มีอยู่สี่วิธีคือ หนึ่งการปั้น สองการแกะสลัก สามการหล่อ สี่การประกอบขึ้นรูป(คล้ายกับการทำโมเดล)
สาม สถาปัตยกรรม กลุ่มงานศิลปะนี้ จะเป็นการต่อยอดมาจากกลุ่ม ปะติมากรรม กลุ่มนี้จะเป็นการสร้างงานศิลปะที่เป็นสามมิติเหมือนกัน แต่ใหญ่กว่ามาก พวกอาคารสถานที่ ตึกรามบ้านช่อง อาคาร อันนี้ใช่ทั้งหมด
สี่วรรณกรรม กลุ่มนี้เป็นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยการใช้ภาษา ไม่ว่าจะเป็นการพูด การเขียน หรือการใช้ภาษาท่าทางรวมอยู่ในนี้ทั้งหมด
ห้า ดนตรี นาฏศิลป์ เป็นศิลปะที่ใช้การสร้างสรรค์ด้วยเสียงเพลง เสียงดนตรี เสียงร้อง มาประกอบกับท่าทางการร่ายรำ ระบำ ฟ้อน เพื่อให้การเกิดการแสดงเชื่อมต่อกัน
หก การพิมพ์ภาพ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการนำเสนอผ่านการปั๊มแม่พิมพ์ และจะต้องมีตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป
ประยุกต์ศิลป์
กลุ่มที่สองของงานศิลปะ เป็นเรื่องของการนำศิลปะนั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้าขาย การสอนหนังสือ เป็นต้น แยกย่อยลงไปได้ดังนี้
หนึ่ง มัณฑนศิลป์ เป็นการเรียนศึกษางานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการตกแต่งบ้าน อาคาร ห้อง สถานที่ต่างๆเพื่อให้เกิดความสวยงาม เกิดประโยชน์ในด้านการใช้สอยมากที่สุด
สอง อุตสาหกรรมศิลป์ เป็นการเรียนนำศิลปะไปใช้ในการออกแบบเพื่อทำให้เกิด สินค้า, ผลิตภัณฑ์, ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ แล้วนำไปสร้างต่อให้เกิดการใช้งานได้จริง ขายได้จริง
สาม พาณิชย์ศิลป์ งานศิลปะที่ประยุกต์เข้ากับระบบการซื้อขายสินค้า ให้งานศิลปะเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้สินค้า ผลิตภัณฑ์ การบริการนั้นดีขึ้นน่าสนใจมากขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบชื่อ ออกแบบตัวอักษร รูปร่าง สัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์นั้น คำขวัญ คำเชิญชวน เป็นต้น