
ศิลปะนั้นได้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองอยู่ในตัว เพียงแค่ว่าจะวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องอะไร บางคนนั้นมีการเขียนงานศิลปะแต่นามธรรมก็เป็นเรื่องของการเมือง จะเขียนหรือปั้นพระพุทธรูป ก็สามารถที่จะเป็นการเมืองได้ทั้งสิ้น
ดังนั้นศิลปะกับการเมืองเลยไม่สามารถแยกออกจากกันได้ซึ่งเป็นอย่างนั้นมานานแล้ว พื้นที่ศิลปะก็ได้กลายเป็นพื้นที่ของประชาธิปไตยในตัวมันเอง เพราะว่ามันมีอิสรภาพในการแสดงออกทางความรู้สึก ฉะนั้นศิลปะจึงเป็นพื้นที่ของการต่อสู้ทางการเมือง เป็นพื้นที่ในการต่อรองทางการเมืองมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบงานวรรณกรรม ละคร หรือดนตรีก็ตาม
ศิลปะที่มีการสื่อสารในเรื่องของประเด็นทางสังคมหรือการเมืองนั้นเรียกว่าไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่ อย่างที่หลายคนนั้นได้เห็นกันมาตลอด กราฟฟิตี้ที่มีการวาดล้อเลียนต่างๆ ศิลปะที่มีการจัดตั้งขึ้น ประติมากรรมที่มีการสร้างขึ้น ดนตรีที่มีการเล่นขึ้น ละครเวทีที่มีการแสดงขึ้น หรือแม้กระทั่งการแสดงขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมทั้งสิ้น รวมไปถึงในยุคนี้ที่มีคนมาร่วมชุมนุมกันทั้งที่ในยุคที่สว่างไสวทางปัญญาขนาดนี้ มีบทละครในหลายๆบทที่มุ่งหวังให้ผู้ชมละครนั้น ได้ซึมซับกับการวิพากษ์วิจารณ์สังคม รวมไปถึงการเมืองและวัฒนธรรมด้วย ให้พื้นที่ของแสดงละครนั้นเป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างศิลปะกับหน้าที่ของพลเมือง ยิ่งไปกว่านั้น ว่ากันว่าศิลปะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังเป็นอย่างมาก ในการประท้วงที่ไม่ใช้ความรุนแรง ที่เราจะเห็นศิลปินหลายๆคนด้วยกันสะท้อนสังคมและการเมืองที่เกิดขึ้นออกมาผ่านผลงานของเขา มีคำพูดของเอากูซตู บูอัล นักแสดงชาวบราซิล ได้บอกถึงความคิดของเขาผ่านบทสัมภาษณ์อย่างน่าสนใจว่า
“คุณมีความคิด คุณมีข้อความ เราไม่มีข้อความ เรามีแต่คำถาม เรานำติดตัวมา ด้วยซึ่งคำถามว่าคุณสามารถทำอะไร และด้วยความเป็นวิถีประชาธิปไตย ทุกคนนั้นสามารถที่จะหยุดหรือกระโดดเข้ามาในฉาก และทดลองนำเสนอทางออกและทางเลือก จากนั้นเราจะอภิปรายทางเลือกเหล่านั้น รวมไปถึงทางเลือกอื่นๆ ตามจำนวนของผู้ที่อยู่นั้น”
การใช้ศิลปะเพื่อเป็นการแสดงออกทางการเมืองนั้นยังคงเป็นการสร้างอารมณ์รวมถึงความรู้สึกต่างๆร่วมกันในสังคมอีกด้วย ในการค้นคว้าของ วิลเลียม เรดดี้ ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์และมนุษย์วิทยาวัฒนธรรมแห่งมหาวิทยาลัยดูค หรือ DUKE University นั้น (มหาลัยอันดับต้นๆและมีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกา) ได้กล่าวไว้ว่า
“อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่เกิดขึ้นมาอย่างลอยๆ หรือเป็นเพียงแค่ปฏิกิริยาต่อสถานการณ์เฉพาะหน้า มีมาตรฐานบางอย่างในสังคมและวัฒนธรรมกำกับอยู่ เราจะได้รับอนุญาตให้รัก เกลียด ภูมิใจ ดีใจ เสียใจ กับอะไร และอย่างไร ไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่มีโครงสร้างอำนาจที่กำหนดแบบแผน มีการให้รางวัลหรือเกียรติยศและมีการลงโทษต่างๆ ให้แก่คนที่ละเมิดแบบแผนมาตรฐานทางอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้น”
ดังนั้นในการที่ใช้ศิลปะร่วมไปกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ยังสามารถที่จะทำให้ผู้คนนั้น มีที่พักพิงทางด้านอารมณ์ และความรู้สึกได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้คนมีอิสรภาพรวมไปถึง เสรีภาพในด้านของการแสดงออก และความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกัน เป็นที่ลี้ภัยทางอารมณ์ความรู้สึก ดังนั้นแล้วความสำคัญในการใช้ศิลปะก็เพื่อให้มีการขับเคลื่อนของสังคมและการเมือง ไม่จำเป็นที่จะต้องผูกขาดกับศิลปินที่จบจากการเรียนในด้านของศิลปะเท่านั้น แต่ศิลปะนั้นก็เป็นเหมือนเครื่องมือ เพื่อที่จะได้สร้างพื้นที่ให้กับทุกคนในสังคมได้มีปลดทุกข์ มีการตกตะกอนในเรื่องความรู้สึกรวมไปถึงความคิด มีการได้เปิดพื้นที่ เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนความฝันร่วมกันกับคนอื่นอย่างเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน สร้างพลังใจให้แก่กันด้วยความเชื่อในศักดิ์ศรีของตัวเอง มีการปลดปล่อยเสียง และสิทธิทางเสรีภาพของตัวเองให้ได้เป็น